เมื่อโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต้องเรียนต้องสอนออนไลน์

Piriya Sambandaraksa
14 min readApr 2, 2020

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้การรวมตัวกันของมนุษย์เรานั้น ไม่ใช่เรื่องที่ฉลาดเท่าไหร่นัก โรงเรียน และ มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ครั้นจะหยุดเรียน ก็ไม่รู้ว่าเรื่องจะจบลงเมื่อไหร่ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้หันมาทำการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์กัน และนี่ อาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับรูปแบบการศึกษาต่อไปในอนาคตก็เป็นได้

เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนบทความที่ตั้งใจจะเป็นการแชร์ประสปการณ์การสอนออนไลน์ แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ได้พูดคุยกับอาจารย์หลายๆ ท่าน เกี่ยวกับอุปสรรค และ ความยากลำบากในการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบกับการที่ผมได้มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นกับการสอนคลาสรูปแบบต่างๆ จึงอยากจะเขียนบทความขึ้นมาใหม่ เพื่อหวังจะเป็นการคลายข้อสงสัย และช่วยให้โรงเรียน และ มหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถปรับตัวได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากดูเหมือนว่า เราจะต้องสอนกันแบบนี้ไปอีกสักพักใหญ่

*การแนะนำผลิตภัณฑ์ใดๆ เป็นการแนะนำผ่านประสบการณ์การใช้งานด้วยต้นเองทั้งสิ้น โดยผู้เขียนไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้แต่อย่างใด

ตอบคำถามประเด็นร้อนก่อนเรื่องอื่น สรุปแล้ว ต้องลงทุนซื้ออะไรเพิ่มหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ต้องครับ อาจารย์ส่วนใหญ่ ขอเพียงมี Notebook สักเครื่อง ก็สามารถทำการสอนออนไลน์ได้แล้ว ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ลองสอนดูก่อน แล้วค่อยๆพิจารณาปรับปรุงในส่วนที่สำคัญ โดยทั่วไปแล้ว คุณภาพเสียง จะสำคัญกว่าคุณภาพของภาพ ถ้าจะปรับปรุงส่วนไหน เน้นไปที่การทำให้เสียงของเราดังฟังชัดก่อนครับ

เดี๋ยวเราจะมาคุยเรื่องอุปกรณ์กันอีกในภายหลัง แต่ตอนนี้เราลองมาพูดถึงรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ และ ข้อที่ควรคำนึงถึง รวมไปถึง การวัด ประเมินผล และการสอบ กันก่อนดีกว่าครับ

สอนออนไลน์ ใช้โปรแกรมอะไรดี?

คำถามแรกๆ ที่ผมเจอในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ใช้โปรแกรมอะไรดี?

อาจารย์หลายๆท่าน ไม่เคยสอนออนไลน์มาก่อน ก็อาจรู้สึกงงงวย และ จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะพิจารณาประเด็นไหนอย่างไร

สำหรับคำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ ใช้ที่องค์กรท่านจัดหามาให้ใช้เลยครับ มันอาจดี ไม่ดี เราลงเรือลำเดียวกันแล้ว ลองใช้ดูก่อน แล้วค่อยๆ ปรับปรุงแก้ไขกันไป

นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมเสริมที่ควรพิจารณา อย่างเช่น โปรแกรมตัดต่อวิดิโอ โปรแกรมอัดหน้าจอ เป็นต้น ถ้าเราแยกซอฟต์แวร์ และ platform ที่ใช้สำหรับการทำการสอนออนไลน์ออกเป็นหมวดหมู่ เราอาจแยกได้ดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์ / แพลตฟอร์ม สำหรับการถ่ายทอดสดการบรรยายออนไลน์ในวงปิด
  2. ซอฟต์แวร์ / แพลตฟอร์ม สำหรับการพูดคุย ถกเกียง และ แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
  3. ซอฟต์แวร์สำหรับการอัดคลิปการสอน
  4. ซอฟต์แวร์สำหรับตัดต่อวิดิโออย่างง่ายๆ

ซึ่ง ในแต่ละหมวดหมู่ก็จะมีซอฟตแวร์ หรือ แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ในแต่ละด้านได้ต่างๆ กัน

ซอฟต์แวร์ / แพลตฟอร์ม สำหรับการถ่ายทอดสดการบรรยายออนไลน์ในวงปิด

ในการสอนรูปแบบบรรยาย (lecture) เครื่องมือที่สำคัญคือ ช่องทางการถ่ายทอดการสอนสู่นักเรียนทุกคน ซึ่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน เราจะสามารถใช้เครื่องทือสำหรับ Online Conference ได้สำหรับคลาสขนาดเล็ก (น้อยกว่า 300), เครื่องมือสำหรับ Online Webinar สำหรับคลาสขนาดใหญ่ (300–1000คน) ไปจนถึง เครื่องมือสำหรับถ่ายทอดสด Live Streaming แบบสาธรณะสำหรับคลาสเปิด (Youtube, Facebook, Twitch, เป็นต้น)

ดังนั้น ส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาข้อแรกคือ ขนาดของคลาส และ ต่อมาคือลักษณะของคลาส เช่น ต้องการให้มี interaction หรือไม่, ต้องการให้ผู้เข้าเรียนสามารถเปิดไมโครโฟนพูดได้ หรือ ต้องการให้นักเรียนพิมพ์เข้ามาเป็น chat ระหว่างบรรยาย

โดยซอฟต์แวร์ / แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสำหรับการบรรยาย มีดังนี้

  1. Zoom: แพลตฟอร์มประชุม, สัมมนา, และ บรรยาย น้องใหม่ยอดนิยม ด้วนคุณภาพของภาพและเสียงที่เหนือคู่แข่งหลายเจ้า, User Interface ที่สะอาด ใช้งานง่าย และ ดูดี, ลูกเล่นสำหรับการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวาดเขียน, note, comment, interactive quiz, และอื่นๆ จึงทำให้ Zoom เป็นตัวเลือกต้นๆของหลายๆองค์กรณ์ สามารถรองรับได้ทั้ง Meeting/ Conference ขนาดเล็ก ไปจนถึง Webinar ขนาดใหญ่
  2. MS Teams: แพลตฟอร์มน้องใหม่ จากพี่ใหญ่ Microsoft ที่ยำเอาเครื่องมือหลายๆ อย่างมารวมไว้ด้วนกัน ทั้งการบริหารจัดการคน, ทีม, ชั้นเรียน ไปจนถึงการเรียนการสอน สามารถให้สมาชิกเปิดห้องพูดคุยกันได้ตามต้องการ รองรับคลาสขนาดเล็ก ในรูปแบบของ Meeting / Conference และคลาส Webinar ขนาดใหญ่ด้วย Live Events นอกจากนี้ยังมี Plugins ที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่นๆได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกด้วย รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับ Microsoft Office ที่เหนือกว่าคู่แข่ง
  3. GotoMeeting / GotoWebinar: เป็นสองตัวแยกกันตามชื่อครับ เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการประชุม และ Webinar ที่ได้รับความนิยมมาเป็นเวลานาน แม้ในช่วงไม่กี่ปีมานี้จะถูกน้องใหม่อย่าง Zoom โขมยซีนไปเยอะพอสมควร ในแง่ลูกเล่น และ Feature ต่างๆ ไม่ได้แพ้ Zoom ครับ แต่คุณภาพภาพต่ำกว่า Zoom และมีราคาที่แพงกว่า
  4. Cisco WebEx: เป็น Platform สำหรับ Online Conference ที่มีมาเป็นเวลานาน และอายุของมันก็แสดงออกมาชัดเจน ผ่านประสบการณ์การใช้งานที่รู้สึกล้าหลัง ยุ่งยาก และคุณภาพเสียง และ ภาพที่ด้อยกว่าคู่แข่ง ด้วยราคาที่แพงกว่าคู่แข่งเกือบทุกเจ้า ทำให้ผมสงสัยทุกครั้งที่มีใครเลือกใช้ WebEX นอกเหนือจากการที่ระบบทั้งองค์กรขึ้นอยู่กับ Cisco อยู่เดิม
  5. Youtube, Facebook, Twitch, Vimeo, ฯลฯ: ของฟรีก็ใช้ได้นะครับ ในกรณีที่องค์กรไม่ได้ตระเตรียมอะไรไว้ให้ อาจารย์ก็สามารถเผยแพร่การบรรยายลงสื่อเหล่านี้ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น Video ที่อัด และ ตัดต่อมาก่อน หรือ Live video โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้นั้น สามารถกำหนดให้วิดีโอเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือ เผยแพร่เฉพาะในกลุ่มปิดก็ได้ ในการเผยแพร่ในกลุ่มปิด การ upload หรือ live stream เข้าสู่ Facebook Private Group ก็เป็นวิธีง่ายๆในการบรรยาย โดยผู้ฟังยังสามารถโต้ตอบ ถามคำถามได้ผ่านทาง Chat ซึ่งจะถูกบันทึกเอาไว้เป็น Comment ทั้งหมดอีกด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะบอกว่า ควรจะใช้อะไรอาจเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ได้มีสิทธิ์ในการเลือกมากนัก เนื่องจาก โรงเรียน และ มหาวิทยาลัยส่วนมาก จะทำการซื้อ License สำหรับบุคคลากรอยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่า สถานศึกษาของท่านจัดอะไรมาให้ใช้ก็ใช้อันนั้นได้เลยครับ ไม่ว่าตัวไหนก็ใช้งานได้ทั้งนั้น แต่ถ้าผมเป็นเจ้าของสถานศึกษา ในตอนนี้ก็คงจะชั่งใจระหว่าง Zoom กับ MS Teams เป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน คือ Zoom มี feature สำหรับการประชุม การสอน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนหลากหลาย ใช้ทรัพยากรน้อย และมีคุณภาพขอวภาพและเสียงที่ไม่เป็นรองใคร ที่ราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งหลายๆ เจ้า (ในขณะที่เขียนบทความนี้ Zoom ล่ม เพราะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 800% ในเวลาสั้นๆ) ส่วน MS Teams ก็ให้คุณภาพของภาพและเสียงไม่ได้ด้อยไปกว่า Zoom แต่มีลูกเล่นสำหรับการโต้ตอบสื่อสานในชั้นเรียนน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม Teams มาพร้อมกับแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการชั้นเรียน, ครูผู้สอน, นักเรียน และ บุคคลากรต่างๆ ซึ่งการที่ทุกอย่างรวมกันอยู่ที่เดียวก็ทำให้ง่ายต่อการใช้งานพอสมควร

สรุป:
ดีที่สุดทำหรับ conference, seminar, lecture: Zoom
ครบเครื่องที่สุด และยืดหยุ่นได้ด้วย plug-ins: Microsoft Teams

ซอฟต์แวร์ / แพลตฟอร์ม สำหรับการพูดคุย ถกเกียง และ แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

เพราะว่าชั้นเรียนไม่ได้มีเพียงกิจกรรมในห้องเรียน แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการชั้นเรียน จึงมีความสำคัญไม่แพ้กับช่องทางในการจัดการเรียนการสอน

แพลตฟอร์มบริหารจัดการชั้นเรียน หรือที่เรียกว่า LMS (Learning Management System)นั้น จะเป็นศูนย์กลางของการติดต่อสื่อสารทั้งหมดภายในวิชาเรียน ไม่ว่าจะเป็นการประกาศ และ เผยแพร่การบรรยาย, การแจกงาน, รับงาน, ประสานงาน, การทดสอบระหว่างชั้นเรียน, การจัดสอบเก็บคะแนน, การส่งคำถาม และ พูดคุยระหว่างคาบเรียน ฯลฯ เรียกได้ว่า ถ้าข้อข้างต้นคือห้องเรียน ข้อนี้ก็จะเปรียบเสมือนโรงเรียนนั่นเอง

แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการชั้นเรียนมีให้เลือกใช้มากมาย โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยจะยกตัวอย่าง แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ดังนี้

  1. Moodle: คุณปู่อินดี้ของวงการ LMS นับเป็น LMS แพลตฟอร์มที่อยู่มานาน ทรงพลัง และที่สำคัญ ฟรี! (แต่หา Server Run เอาเองนะ) Moodle เป็น Open Sourced LMS project ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มี Plug in ให้เลือกมากมาย พร้อมด้วยความสามารถที่เหนือกว่าคู่แข่งเกือบทุกเจ้าในด้านการบริหารชั้นเรียน เช่น การแบ่งเนื้อหาออกเป็นตารางเรียน การตรวจสอบ Progress การทำคลังข้อสอบ ความหลากหลายในการทำ Quiz และความสามารถในการสรุปผลประเมินนักเรียนแบบ real time เพื่อให้ผู้สอนได้รับ Feedback ตลอดเวลาเพื่อนำไปปรับปรุงการสอนได้ตลอด และ ทันท่วงที แต่มีข้อจำกัดสำคัญที่ความยากในการใช้งานที่ทำให้หลายๆ คน ต้องยอมแพ้ไปตาม ๆ กัน แต่หากคุณพร้อมจะอดหลับอดนอนกับมันสักพัก คุณจะเข้าใจว่าทำไม Moodle ถึงยังครองตำแหน่ง LMS แพลตฟอร์มที่ผมชอบที่สุดถึงทุกวันนี้
  2. Blackboard: อีกหนึ่ง LMS ที่อยู่มานาน มีลักษณะการใช้งานคล้าย Moodle มี Feature คล้ายกับ Moodle แต่หน้าตาน่าใช้กว่าอย่างมีนัยสำคัญ จุดที่ยังทำให้ Blackboard ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรน่าจะมาจากราคาค่า License ที่คอนข้างสูง และรูปแบบการจัดซื้อที่ออกแบบสำหรับสถาบัณการศึกษาเป็นหลัก เร็วๆนี้ Blackboard เปิด service ให้ใช้ฟรี สำหรับการจัดการวิชาขนาดเล็กสำหรับอาจารย์ ในรูปแบบรายบุคคล ทำให้เราสามารถลองใช้งาน Feature ต่างๆได้ และ อีกสิ่งที่คล้ายคลึงกับ Moodle คือความยากในการเรียนรู้ระบบในครั้งแรก
  3. DashLearn / Other WP plugins: สำหรับองค์กรที่มี website ที่ใช้ CMS ทั่วๆไป เช่น Wordpress ก็มี LMS ประเภท plug ins ให้เลือกใช้ ข้อดีคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ Website หลัก และ ความง่ายในการใช้งาน ข้อเสียคือการใช้ทรัพยากรณ์ร่วมกันกับ Website ล่มก็ล่มไปด้วยกัน อาจทำให้ต้องวางแผนดีๆ
  4. Edmodo: Online Cloud-Based LMS Service ที่ได้รับความนิยม ข้อดีของ Edmodo คือความง่ายในการเริ่มใช้งาน ทั้งสำหรับอาจารย์และนักเรียน โดยไม่ต้องใส่ใจเรื่องการ Host หรือการ Setup อะไรมากมาย เพียงสร้าง Account แล้วก็เริ่มสร้างวิชาได้เลย สำหรับ Feature ที่มีให้นั้น ค่อนข้างจำกัด โดยไม่สามารถ Group เอกสาร / Assignments / Quizzes ไว้แยกกันตามคาบเรียนได้ แม้จะสามารถแสดงบนปฏิทินได้ก็ตาม
    จุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้ Edmodo ด้อยลงไปอย่างมาก คือความสามารถในการสร้าง Quiz โดยที่ Quiz ใน Edmodo นั้นมีรูปแบบให้เลือกเพียงไม่กี่รูปแบบ และไม่สามารถแนบเฉลย และ คำอธิบายลงไปใน Quiz เพื่อให้แสดงหลังจากทำ Quiz ได้ ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการที่นักเรียนจะได้ทบทวน และตั้งคำถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจได้
  5. Google Classroom: LMS Solutions จาก Google
  6. Microsoft Teams: MS Teams ไม่ใช่ LMS แต่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันออนไลน์ โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม และ การทำงานในรูปแบบบริษัท โดย MS Teams นั้น ออกแบบมาในลักษณะที่เหมาะกับการพูดคุยงาน ประกาศข้อความภายใน และ ทำงานเป็นกลุ่มย่อย อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถในการเข้าถึงส่วนต่อขยายจำนวนมาก และ ความสามารถในการจัด Online Conference, Seminar, หรือ Classroom ได้ภายใน Click เดียว ก็ทำให้ MS Teams กำลังเป็นตัวเลือกที่มาแรงในการบริหารจัดการวิชา และ ชั้นเรียนในปัจจุบัณ โดยอาจเหมาะกับวิชา Project Based ที่ต้องทำงานกลุ่มร่วมกัน มากกว่าวิชาที่มีเพียง Lecture เป็นต้น
    ความสามารถในการทำ Quiz, ออกข้อสอบ สามารถทำได้ผ่าน MS Forms ที่คล้ายๆกับ Google Form แต่ยังมีลูกเล่นน้อยกว่ามาก และ ไม่มี Dash board สำหรับการประเมิน Progress นักเรียนอย่าง LMS เฉพาะทางอื่นๆ (ไม่แน่ใจว่ามี Plug ins สำหรับสิ่งเหล่านี้หรือไม่?)
  7. Slack: ถ้า MS Teams ได้อยู่ใน List นี้ Slack ก็ควรได้? แม้ Slack จะไม่ใช่ LMS แต่ก็มีความสามารถใกล้เคียงกัน ต่างกันเพียงความสามารถในการเปิด Online Conference จากภายในแพลตฟอร์ม ที่ไม่สามารถทำได้ใน Slack นั่นเอง แต่ถ้าคุณใช้เครื่องมือเหล่านี้อยู่แล้ว อาจพิจารณาใช้ Slack + Zoom แทนการใช้ Teams ก็ได้เช่นกัน ซึ่งในรูปแบบเดียวกัน หมายความว่า team management platform อื่นๆ หรือแม้แต่ team chat อย่าง Discord ก็สามารถดัดแปลงมาใช้งานได้เช่นกัน
  8. Line Group: บางคนถามว่า เราจำเป็นต้องมี LMS จริงจังขนาดนี้จริงๆหรือ? ก็ปรกติก็มี Line Group ไว้คุยกับนักเรียนนักศึกษาได้อยู่แล้ว? คำตอบคือ มันก็ได้ครับ แต่มันก็จะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะพอสมควร อย่างแรกเลยคือ Line Group นั้นใครก็สามารถเรียกใครเข้ามาก็ได้ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถควบคุมสมาชิกได้ นอกเสียจากจะใช้ Line Open Chat ที่ admin สามารถเลือกอนุมัติผู้เข้าร่วมได้ ข้อจำกัดที่สำคัญอีกอย่างของ Line ความสามารถในการเก็บ และ แจกจ่าย File ต่างๆ โดยปรกติ File ใน Line จะถูกลบไปเมื่ออายุเกิน 7 วัน (หรือนานกว่านั้น ถ้าทำเป็น Post / Album) ทำให้การใช้งานค่อนข้างจำกัด อีกทั้งยังไม่มีเครื่องมือสำหรับ แจกงาน, รับงาน, ประเมิน, และ วัดผลการเรียน และ แม้จะสามารถเปิด Video Call ได้ง่ายๆ แต่ไม่สามารถ Share จอได้โดยตรง ทำให้การตรวจงาน หรือการสอนไม่สามารถทำได้ดีเท่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
  9. Facebook Group: ไหนๆ ก็พูดถึง Line แล้ว ก็เอ่ยถึง Facebook ด้วยก็คงไม่แปลก เช่นเดียวกัน Facebook Group ไม่ได้ถูกออกแบบมาเป็น LMS จึงทำให้ไม่มีเครื่องมือในการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่าง LMS อื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน Facebook Group มีความสามารถในการบริหารจัดการสมาชิกที่ครบถ้วน สามารแจก File และ Link ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องกลังข้อมูลหาย และสามารถบรรยายสด เป็น Live Session ได้ โดยไม่ต้องมีโปรแกรมเสริมแต่อย่างใด (Live control ของ facebook สามารถสลับกล้อง / จอ ได้ง่ายๆเพียงปุ่มเดียว) แต่อาจไม่เหมาะสำหรับคลาสที่ต้องการการพูดคุยกันอย่าง active (สามารถ integrate เข้ากับ Zoom, Teams, GotoMeeting, WebEx ได้) ถ้าไม่ติดว่า Facebook จะได้ข้อมูลภายในองค์กรไปทั้งหมด ก็เป็นทางออกง่ายๆ ที่ไม่เลวจนเกินไป

สรุป

แพลตฟอร์มบริหารจัดการชั้นเรียน มีให้เลือกมากมาย การเลือก LMS ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน และ รูปแบบการเรียนการสอน เป็นส่วนสำคัญของประสปการณ์นอกห้องเรียน และ การควบคุม / ประเมินผล การเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบ LMS เฉพาะทาง ที่สามารถแยกเนื้อหา, กิจกรรม, กระดานพูดคุย, และ Quiz ได้ตามคาบเรียน; ความสามารถในการสร้างแบบทดสอบ ที่สามารถอธิบาย เฉลย คำตอบ และ คะแนนได้ทันที เพื่อสร้าง Feedback loop ที่จะช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วม และ เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น; และ ระบบแสดง และ ประเมินผลการเรียนที่ดูง่าย ทำให้ผู้สอนได้ insight ว่า นักเรียนติดตรงไหน ประเด็นไหนที่ควรอธิบายเพิ่มเติม หรือ ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนได้อย่างทันท่วงที

สำหรับผม LMS ที่มี Feature ครบถ้วนที่สุดหนีไม่พ้น Moodle และ ตามมาด้วย Blackboard และ Custom LMS plugin อย่างเช่น DashLearn

แต่ด้วยความยากในการใช้งาน จึงทำให้แพลตฟอร์มที่ใช้ง่ายกว่า เช่น Google Classroom หรือ MS Teams ก็อาจเป็นคำตอบที่ดีได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม LMS จะดีเท่าไหร่ ก็ไม่มีประโยชน์ถ้าผู้สอนไม่สามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่ และสร้างยบรรยากาศของการมีส่วนร่วมได้

ซอฟต์แวร์สำหรับการอัดคลิปการสอน

หนึ่งในรูปแบบของการเผยแพร่การบรรยาย สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ สามารถทำได้ผ่านการอัด Clip ล่วงหน้า เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาเนื้อหา ก่อน หรือ ระหว่างชั้นเรียนได้ โดยเราจะพูดถึงข้อดีข้อเสียของการสอนด้วย Live stream กับการสาอนด้วย pre-recorded video กันในหัวข้อหลังจากนี้

การอัดคลิปวิดิโอประกอบการบรรยายนั้น สามารถทำได้หลายวิธี และ มีเครื่องมือให้เลือกใช้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการอัดลงเครื่องที่ใช้สอน หรืออักเข้า recorder แยก เพื่อการตัดต่อต่อไป

ผมสรุปวิธีที่ง่ายที่สุดมาให้สองวิธีด้วยกัน

  1. การบันทึก Video หน้าจอด้วย OBS (open broadcaster software) โดย OBS เป็น free, open-sourced software สำหรับการทำ Live Streaming / Video Recording ที่เล็ก เบา ทรงพลัง และที่สำคัย ฟรี!
    จากที่ผมเคยลองใช้มาหลายโปรแกรม รวมถึงโปรแกรมที่พัฒนาต่อยอดจาก OBS อย่างเช่น Streamlabs ผมพบว่า OBS นั้น มีความเสถียรสูงที่สุด และใช้ทรัพยาการเบาที่สุด เพียงแต่การเริ่มใช้งาน OBS อาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายต่อหลายคน แต่ถ้าเรายอมเรียนรู้มันสักนิด จะพบว่า OBS สามารถทำได้มากกว่าที่คุณคิด
    ปัจจุบัณ ผมใช้ OBS สำหรับการทำรายการสด และ การบันทึกหน้าจอ และ ภาพจากกล้อง รวมทั้งปรับแต่งเสียงระหว่างการอัด ครบทั้งวงจร จนทำให้แทบไม่ต้องมีขั้นตอนการตัดต่อเลยแม้แต่น้อย
    ข้อเสียคือ File video อาจมีขนาดใหญ่ ทำให่ไม่เหมาะกับการแจกจ่าย แต่สามารถแก้ได้โดยการใช้บริการรับฝาก video แล้วตั้งเป็น private content เช่น facebook หรือ Vimeo เป็นต้น
  2. การอัดเสียงใส่ Powerpoint แน่นอนว่าเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย โดยใน Microsoft Powerpoint ผู้สอนสามารถอัดคลิปเสียง ประกอบเนื้อหาแต่ละ Slide และฝังไปพร้อมกับไฟล์ pptx ได้เลย
    วิธีนี้ ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริมใดๆ แถม นักเรียนยังจะได้ไฟล์บรรยายตัวเต็ม ที่สามารถเอาไป print หรือ annotate ได้เต็มที่
    แต่ข้อเสียคือข้อจำกัดทางการบรรยาย โดยไฟล์เสียง จะแยกออกตาม Slide ทำให้การบริหารจัดการจังหวะจะโคนต่างๆ มีความแข็ง ไม่สามารถแสดงสิ่งที่สอนให้ดูได้บนจอสดๆ และไม่สามารถแนบ video feed เข้าไปด้วยได้ ทำให้ผู้สอนที่มีจังหวะ มีสไตล์ในการสอยที่อาจใช้ slide ในการ lead ความคิดไปสู่การตบประเด็น อาจมีปัญหาในการถ่ายทอดบรรยากาศการบรรยายได้ และยังมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่อีกด้วย

ซอฟต์แวร์สำหรับตัดต่อวิดิโออย่างง่ายๆ

เมื่อมีไฟล์วิดีโอแล้ว คุณครูทั้งหลาย อาจอย่างทำการตัดต่อ ปรับแต่งให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ แต่ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรดี สำหรับหัวข้อนี้คุณอาจไม่โชคดีนัก

การตัดต่อวิดีโอนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องวิดีโอเป็นสื่อที่ผสมผสานทั้งภาพและเสียง คุณจำเป็นที่จะต้องมีความคล่องแคล่วพอสมควร ในเรื่องของการบริหารจัดการไฟล์ resource ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง ภาพประกอบ เพลงประกอบ ฯลฯ และ เมื่อตัดต่อเสร็จสิ้นแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจเรื่องของการ render อีก ว่า video ควรจะมีขนาดเท่าใด, resolution, bitrate, compression, format ฯลฯ

คงเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราจะต้องศึกษาเรื่องเหล่านี้กันเพิ่มเติม แต่ยังไม่ใช่เวลานี้ ไปแนะนำโปรแกรมง่ายๆกันก่อนครับ

  1. Microsoft Movie Maker โปรแกรมแถมฟรีประจำ Windows Movie Maker มี interface ที่เข้าใจง่าย (คุณพ่อผมอายุ 74 ปี สามารถใช้ได้โดยไม่ถามสักคำ) มี effect / transition ให้เลือกมากมาย สามารถ ตัด ต่อ เติม เสริม แต่ง track ต่างๆได้ และยัง render ได้อย่างง่ายๆ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเริ่มต้นครับ
  2. Online Editor ในกรณีที่เรา upload video ขึ้น Online platform เช่น Youtube, Facebook, Video ฯลฯ แพลตฟอร์มเหล่านี้ก็มี Editor ให้เราสามารถตัดต่อ Video ได้บนเว็บเลยโดยตรง โดยเราสามารถทำการตัดต่อพื้นฐาน ตัดหัว ตัดท้าย ตัดช่วงพูดผิด ฯลฯ
    ในกรณีที่ Video ทำมาดีตั้งแต่ถ่ายแล้ว บางทีผมก็ใช้วิธีนี้ครับ เพราะประหยัดเวลา แต่ไม่สามารถทำอะไรที่ยุ่งยากมากไปกว่าที่กล่าวมาได้นั่นเอง
  3. Professional Tools ใครที่ใช้เป็นอยู่แล้วคงไม่ต้องแนะนำอะไร ส่วนตัวผมใช้ Adobe Premiere / After Effect เป็นหลัก หรือ Sony Vegas ก็ใช้งานง่ายพอสมควร สาวก Mac ก็สามารถใช้ Final Cut หรือ Premiere ได้ทั้งบน Macbook หรือ iPad pro แต่ถ้าเราอยากใช้ Professional Editing Software แบบฟรีๆล่ะ? แนะนำให้ลอง Davinci Resolve ครับ ฟรี เร็ว แรง แต่การเรียนรู้จะค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย
    *ปล. ในช่วงนี้ Apple อนุญาติให้ใช้ Final Cut Pro X ได้ฟรี 90 วันอีกด้วย

สอนออนไลน์ สอนแบบไหนดี?

อีกคำถามที่เจอบ่อยๆคือ สอนออนไลน์ สอนยังไงดี? ในหัวข้อนี้ ต้องบอกว่าผมไม่มีคำตอบครับ มีเพียงแต่ประสบการณ์บางส่วนมาแบ่งปันกัน เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบนั้น มีความต้องการที่แตกต่างกัน

Lecture

การบรรยายเป็นรูปแบบการสอนที่ทำได้ง่ายที่สุด โดยอาจารย์อาจนัดนักเรียนนักศึกษา มาบรรยายสดออนไลน์ ผ่าน platform ต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่สิ่งที่อาจารย์หลายคนจะกังวลกันคือ แล้ว นักเรียนจะตั้งใจฟังการบรรยายหรือไม่ จะเข้าใจเนื้อหามากน้อยแค่ไหน

จากประสปการณ์การบรรยายออนไลน์มาหลายปี ผมตอบได้อย่างมั่นใจว่าไม่ต้องเป็นห่วงครับ นักเรียนอาจไม่สามารถตั้งใจฟังได้ตลอด 3 ชั่วโมงที่อาจารย์พูด แต่ถามว่า อยู่ในห้องเขาทำได้หรือเปล่า? ไม่เลยครับ มีเพียงทีมแถวหน้าไม่กี่คนเท่านั้นแหละที่ทำได้ แล้วคนที่ทำไม่ได้ล่ะทำอย่างไร? ก็เรียนไม่รู้เรื่องไงครับ

การทำคลาสบรรยายออนไลน์นั้น ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น เขาสามารถเลือกฟังนานเท่าที่เขาต้องการ แล้วยังสามารถฟังซ้ำ หรือกลับมาฟังต่อได้ภายหลัง หลังจากที่ชั้นเรียนจบไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจในหัวจ้อที่ยังไม่เข้าใจได้อีก ถ้าอาจารย์มีบันทึกย้อนหลังแจกให้ทุกคน (หลาย platform สามารถอัดคลิปไว้ดูย้อนหลังได้ในตัว)

การบรรยายออนไลน์ที่ดีนั้น อาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าการบรรยายหน้าห้องได้มากกว่าที่คิด แต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบคอร์สเรียนที่ดีด้วยนั่นเอง

นอกจากนี้ อาจารย์ยังอาจตั้งคำถามได้อีกว่า การทำพิธีกรรมการยืนพูดหน้าชั้นสามชั่วโมงยังจำเป็นอยู่อีกหรือไม่ เพราะเมื่อชั้นเรียนไม่ได้ถูกจำกัดด้วยทรัพยากรทางกายภาพ และนักเรียนไม่ต้องเสียเวลาเดินทางแล้ว อาจารย์สามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบการบรรยายให้ง่ายต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น (โดยปกติ Attention Span ของนักศึกษามหาวิทยาลัย อยู่ที่ 15 นาที) โดยการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนเล็กๆ ให่ง่ายต่อการฟัง เหมาะสมกับการทำงานของสมอง หรือ อาจารย์ยังสามารถอัดการบรรยายไว้ล่วงหน้า แล้วมานั่งดูไปพร้อมๆกันกับนักเรียนนักศึกษา ซึ่งจะทำผู้สอนสามารถคอยตอบคำถาม หรือตั้งคำถามต่างๆ ในบทสนทนา ควบคู่การบรรยายไปด้วยเลย

Seminar

การเรียนการสอนแบบสัมมนา เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยปรกติเราก็จะจัดการเรียนการสอนกันในห้องที่พยายามจัดให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยหลายๆที่จะจัดสัมมนาในห้องประชุมที่มีโต๊ะรูปตัวยู มีไมค์ของแต่ละคน แต่หารู้ไม่ว่า ที่นั่งรูปตัวยูนั้น ในเชิงจิตวิทยา กลับทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น และ มักนำมาสู่การเผชิญหน้ากัน จึงทำให้คลาสสัมมนาส่วนใหญ่ ต้องกลายเป็นคลาสบรรยายที่เมื่อยคอเป็นพิเศษโดยปริยาย

แต่การสัมมนาออนไลน์นั้น กลับสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้มากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ (มากขนาดที่เวลาผมจัดสัมมนาที่ไหน ก็มักจะเปิดห้องออนไลน์ให้ผู้เข้าร่วมในห้องสามารถมีส่วนร่วมด้วยแทนการยกมือ และ พูดในห้อง ไปพร้อมๆกัน)

เครื่องมือสำหรับการบรรยายออนไลน์ทุกตัว มีช่องทางหลากหลาย ให้นักเรียน หรือผู้ร่วมสัมมนา สามารถมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบผ่านไมโครโฟน ที่ทุกคนสามารถทำได้ หรือการพิมพ์คำถามใน Chat หรือ Forums ของชั้นเรียน รวมไปถึงการสร้าง Poll หรือ Quiz สดๆ เพื่อให้สะดวกต่อการมีส่วนร่วม

เมื่อลดแรงกดดันจากสายตาโดยรอบไป นักเรียนหลายคนกล้าที่จะถาม กล้าที่จะออกความเห็นมากขึ้น ผู้ดำเนินการสัมมนาจึงควรคอยมองช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ เอาไว้ให้ดีตลอดช่วงการสัมมนา

Workshop

Workshop เป็นการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติผสมผสานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การเขียน การออกแบบ การทำงานศิลปะ รูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อต้องเปลี่ยนมาเป็นการเรียนการสอนออนไลน์

แน่นอนว่า workshop สำหรับสิ่งที่ทำได้ใน Computer นั้น อาจไม่มีปัญหามากนัก นักเรียนสามารถปฏิบัติตามชั้นเรียนได้ จากคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม ทำกราฟฟิค หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล ขอเพียงนักเรียนมี Software ที่จำเป็น

จริงๆแล้วการทำ Workshop ในกรณีที่ทำได้นั้น อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากนักเรียนสามารถดูการบรรยาย สาธิต ซ้ำหลายๆรอบ ในกรณีที่ไม่เข้าใจ ในจังหวะของตนเอง โดยไม่รบกวนใครได้ การบรรยายต่างๆ สามารถอัดเอาไว้เป็น video clip สั้นๆ ล่วงหน้า ให้นัดเรียนได้ศึกษา และปฏิบัติตามขั้นตอน ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนสามารถดูแลนักเรียนผ่าน Online session ได้ทั่วถึงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Workshop ที่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษต่างๆใน Lab ที่ไม่สามารถจัดหาได้ทั่วไป และ อาจมาราคาสูงนั้น จะประสบปัญหาเป็นอย่างมาก แต่ในอนาคต เมื่อการกักตัวจบสิ้น อาจารย์ผู้สอนก็สามารถใช้วิธีเดียวกันในการสอน เพื่อให้สามารถดูแลชั้นเรียนได้ทั่วถึงมากขึ้นเช่นกัน

ในกรณีที่สถานการณ์ยืดเยื้อ การใช้อุปกรณ์ VR อาจสามารถเป็นคำตอบสำหรับการทำ equipment training ได้เป็นอย่างดี แต่การทำ VR simulator นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้จึงยังอาจไม่ใช่คำตอบที่เหมาะสมสำหรับช่วงเวลานี้

Discussion

คล้ายคลึงกับการสัมมนา การเรียนการสอนแบบการพูดคุยกันในกลุ่มย่อย ก็สามารถทำได้ไม่ยากนักในรูปแบบออนไลน์ เช่น การตรวจแบบทางสถาปัตยกรรม ที่นักเรียนประมาณ 10 คนสามารถเข้ามาพูดคุย และทำงานไปด้วยกันในห้อง Online ได้

ข้อดีคือการตัดสิ่งรบกวนออกไป จึงทำให้การตรวจงานสามารถทำได้ละเอียดมากขึ้น และผู้ฟัง comment ก็สามารถฟังได้ชัดเจนขึ้น แต่ข้อเสียคือช่องทางในการตรวจ ที่เหลือเพียงการใช้กล้อง และ หน้าจอ สำหรับการคุยงานที่จำเป็นต้องมีผลงานทางกายภาพ เช่น โมเดล prototype หุ่นจำลอง ยังคงเป็นปัญหาเช่นเดียวกับการทำ workshop ข้างต้น

Presentation

การนำเสนอผลงานออนไลน์ ถ้าผลงานนั้นสามารถนำเสนอผ่านสื่อดิจิตัลได้แล้วนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย และอาจเป็นการดีเสียด้วยซ้ำ ที่นักเรียนจะมีวิธีการนำเสนอที่หลากหลายขึ้น

นักเรียนสามารถนำเสนองานผ่านช่องทางการประชุมออนไลน์สดๆ หรือจะนำเสนอผ่าน Video ที่ได้มีการเรียบเรียง ตัดต่อ และ ตรวจทานมาอย่างดีแล้วก็ได้ ซึ่งในกรณีหลังทำให้สามารถใช้สื่อได้มากกว่า Slides แต่ยังสามารถผสมผสานเสียง และ Video มาในการนำเสนอได้อีกด้วย

สอนออนไลน์ แล้วจะ Engage กับนักเรียนอย่างไร?

ประเด็นที่เป็นเรื่องกังวลกันของผู้สอน และ ผู้เรียนออนไลน์ คือการสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการทำ workshop หรือ การบรรยาย การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

สิ่งแรกที่จะหายไป คือ Feedback ทางภาษากาย ของนักเรียน อาจารย์ที่สอนมาเป็นเวลานาน จะสามารถสังเกตุท่าทาง สายตา และ สีหน้าของนักเรียนได้ และ ปรับการพูด การบรรยาย ให้เหมาะกับสถานการณ์ได้ตลอดเวลา แต่เมื่ออาจารย์ต้องบรรยายผ่านหน้าคอมแล้ว feedback เหล่านี้ก็จะหายไป ซึ่งอาจทำให้อาจารย์หลายๆคน เกิดความประหม่า ไม่แน่ใจว่าพูดไปแล้วนักเรียนเข้าใจหรือไม่ ตอนไหนควรจะเน้น ตอนไหนควรจะกระตุ้น ตอนไหนควรจะผ่อน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อาจารย์จะพูดเร็วขึ้น และดังขึ้นเรื่อยๆ และใช้พลังงานมากกว่าปกติหลายเท่า

วิธีการแก้ไขนั้น หลักๆมีอยู่สองวิธีด้วยกัน โดยวิธีแรกคือ การทำให้เกิดความเคยชิน เตือนตัวเองเรื่อยๆ ว่าให้พูดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะมาพร้อมกับประสบการณ์ที่มากขึ้นเองโดยธรรมชาติ

อีกวิธีที่เห็นผลเร็วกว่า คือการสร้าง feedback loop เพื่อวัดระดับความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของชั้นเรียน วิธีง่ายๆ เพียงแค่การมีช่องทางสำหรับ chat ให้นักเรียนได้พูดคุย ถามตอบกัน หรือส่งคำถามให้ผู้สอน สามารถลดความรู้สึกเดียวดายของผู้สอนลงได้หลายเท่าเลยทีเดียว นั่นคือสาเหตุที่ถึงทุกวันนี้ ผมเองยังชอบการจัดรายการสดมากกว่าการอัดคลิป video เสมอ

ช่องทางการสร้าง feedback นั้น ก็จะเป็นการสร้าง engagement ในชั้นเรียนที่ดีด้วยเช่นกัน โดยช่องทางที่สามารถทำได้ มีดังนี้

ในเวลาเรียน

เปิดกล้อง: ผู้สอนควรแนะนำให้ นักเรียนที่เปิดกล้องได้ เปิดกล้อง webcam ของตนเอง นอกจากนี่จะเป็นการเปิดรับข้อมูลสีหน้า ท่าทางของผู้เรียนโดยตรงแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดี ผมมักจะบอกนักเรียนเสมอว่า เวลาเรียนคือเวลาเรียน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่บ้านหรือในชั้นเรียน ในการทำงานจากบ้านก็เช่นกัน เมื่อถึงเวลาแล้วเราควรพร้อม แต่งตัว ชุดทำงาน ชุดไปเรียน เพื่อให้ร่างกายอยู่ในโหมดของการเรียน หรือการทำงาน เป็นการสร้างขอบเขคกั้นระหว่างการอยู่บ้าน กับการร่วมชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อเสื้อผ้าหน้าผมพร้อมแล้ว ก็จึงมีความพร้อมที่จะเปิดกล้องของตัวเองด้วยเช่นกัน (ถ้า internet เร็วพอ) สำหรับอาจารย์ก็เช่นกัน การเปิดกล้องจะช่วยให้นักเรียนฟังผู้สอนได้ง่ายขึ้น สามารถดูปากเวลาพูดได้ รู้สึกเหมือนอยู่ในสายตาได้ ดังนั้น การเปิดกล้องให้เห็นหน้ากัน จึงเป็นวิธีง่ายๆ ในการสร้าง engagement ที่ทุกคนสามารถทำได้

เปิดไมค์: ผู้สอน สามารถถามคำถาม แล้วเปิดไมค์ให้นักเรียนได้ แต่วิธีนี้จะมีข้อจำกัดที่ความพร้อมของอุปกรณ์ของแต่ละคน

เปิดแชท: การมีช่องทางพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการ chat บนแพลตฟอร์มที่ทำการสอน หรือการพูดคุยผ่านช่องทางอื่นๆ จะช่วยให้นักเรียนที่ไม่กล้ามีส่วนร่วมผ่านการยกมือพูดในชั้น สามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น นักเรียนสามารถพูดคุยกันเอง หรือถามคำถามผู้สอน โดยไม่ขัดจังหวะการสอน และไม่ต้องกลัวที่จะถามหรือตอบอะไรผิด จากที่พบมา เมื่อเรียนออนไลน์แล้ว นักเรียนเองก็อย่างที่จะมีตัวตนอยู่ในชั้นเรียนนั้นเช่นกัน และจะส่งผลให้มีการโต้ตอบกันผ่านทางช่องทางนี้มากที่สุดเสมอ

ทำ quiz / poll: การทำ quiz / poll สดๆ สามาถที่จะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ โดยผู้สอนอาจถามคำถามในชั้นเรียนเป็น poll แล้วสร้าง poll ขึ้นมา ไม่ว่าจะในโปรแกรมที่ใช้สอนเลย หรือผ่าน LMS หรือผ่านบริการอื่นๆ การ feedback คำตอบทันทีในชั้นเรียนจะทำให้นักเรียนได้เห็นว่า ความเข้าใจของเขา ถูกหรือผิดอย่างไร และ คนส่วนมากในชั้นเรียนคิดเหมือนเขาหรือไม่ อาจารย์เองก็สามารถใช้วิธีนี้วัดระดับความเข้าใจ เพื่อเป็น feedback สดๆในการปรับกระบวนการบรรยายสดๆ ได้เช่นเดียวกัน

นอกห้องเรียน

Quizzes: ควิซที่ดูเหมือนจะเป็นยาขม ได้เกิดใหม่ขึ้นเป็นเครื่องมือในการ feed back ที่ดีในโลกการเรียนการสอนออนไลน์ การทำควิซผ่าน LMS หรือเครื่องมือทำ Quiz ที่ดีนั้น ผู้ออกแบบควิซ สามารถแนบเฉลย และคำอธิบายคำตอบต่างๆ ไว้กับควิซ และให้แสดงคะแนน พร้อมคำอธิบายในแต่ละข้อได้เลยเมื่อนักเรียนส่งควิซเข้ามา

นอกจากจะประหยัดเวลาในการทำคะแนนแล้ว นักเรียนสามารถใช้ส่วนนี้ในการทบทวนความเข้าใจบทเรียนได้อีกด้วย

หลายครั้งที่เมื่อสอนเสร็จแล้ว อาจารย์จะถามว่า มีคำถามหรือไม่ ผมเป็นคนหนึ่งที่มักนั่งเงียบๆ เพราะเราคิดว่าเราเข้าใจหมดแล้ว แต่การทำควิซที่มีเฉลยทันทีนั้น ทำให้ผมได้ค้นพบว่า เราอาจยังเข้าใจไม่ถูกต้องทั้งหมดเสียทีเดียว ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย และจะเป็นจุดเริ่มต้นการพูดคุยที่ดี

ปัญหาหนึ่งของควิซคือการลอกกัน ทั้งนี้การป้องกันอาจทำได้ยาก นักเรียนอาจนั่งอยู่ที่เดียวกัน ทำด้วยกัน หรือ ดูเฉลยของเพื่อนแล้วค่อยทำ วิธีป้องกัน อาจทำได้โดยการกำหนดหน้าต่างเวลาการทำควิซที่แคบ แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้อาจารย์ใช้เครื่องมือเหล่านี้ไปในการสร้าง engagement เสียมากกว่า เมื่อนักเรียนเห็นว่ามันมีประโยชน์กับเขา เขาก็จะตั้งใจทำมันเอง แต่ถ้านักเรียนเห็นว่าไม่มีประโยชน์ นักเรียนก็จะไม่จริงใจเรียน ซึ่งอาจารย์เองอาจต้องพิจารณาปรับวิธี เนื้อหา และ approach การสอนให้เกิดประโยชน์โดยแท้จริงนั่นเอง

Message board: ใน LMS อาจารย์อาจจัดทำ message board สำหรับการพูดคุยนอกชั้นเรียน บางคนอาจถึงกับเก็บคะแนน participation จากจำนวน post ที่มีประโยชน์ด้วยซ้ำ บางแพลตฟอร์มก็เอื้อต่อการพูดคุย ถาม ตอบ 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว เมื่อนักเรียนมีคำถามระหว่างชั้นเรียน นักเรียนควรมีที่ถาม และที่นั้นควรมีคำถามของคนอื่นๆ อีกด้วย หลายครั้งที่ผมได้ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น โดยอาศัยการติดตามการถามตอบของผู้ร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ การพูดคุยถกเถียงต่างๆ มีประโยชน์เสมอ และผู้สอนควรใส่ใจกับการติดต่อสื่อสารนอกเวลาเรียนด้วยเช่นกัน

สอนออนไลน์ แล้วจะจัดสอบยังไง?

ถ้าการกักตัวนี้ ยืดเยื้อไปอีกนาน มหาวิทยาลัยจะเจอโจทย์สำคัญอีกโจทย์คือการจัดสอบ สำหรับการสอบออนไลน์นั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่ภายใต้ระบบการศึกษา accredited นั้น การสอบวัดผลการเรียนเป็นเรื่องสำคัญ และต้องกระทำให้ได้มาตรฐาน ถ้านักเรียนสามารถทุจริตได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการสอบแทนกัน การพูดคุยระหว่างการสอบ ก็จะเป็นเรื่องยากในการรับรองผลการเรียน

มันก็จะมีบริการคุมสอบออนไลน์ครับ โดยมหาวิทยาลัยที่จัดปริญญาออนไลน์หลายที่อาจพอรู้จักดี

บริการคุมสอบออนไลน์นั้นมีให้เลือกใช้หลายเจ้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Examity, PearsonVue, eProctoring และอื่นๆอีกมากมาย (กดดู link เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม)

โดยบริการ Online Proctoring นั้น จะมีลักษณะคล้ายๆกัน คือ ผู้สอบจะต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนล่วงหน้า โดยมีข้อมูลยืนยันตัวตน เช่น บัตรนักศึกษา รูปถ่าย เป็นต้น จากนั้นก็ทำการนัดวัน และ เวลาสอบ เพื่อจัดคิวผู้คุมสอบ และเมื่อถึงวันสอบ นักศึกษาก็จะสามารถ log in เข้าเพื่อทำการสอบได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ผู้คุมสอบมาคอยควบคุมการสอยตั้งแต่ต้นจนจบ

ในการสอบ ผู้เข้าสอบจะต้องแสดงบัตรยืนยันตัวตนแก่ผู้คุมสอบ เปิดกล้อง หมุนกล้องให้แน่ใจว่าอยู่คนเดียวในห้อง และ share หน้าจอให้กับผู้คุมสอบ โดยผู้คุมสอบ อาจตักเตือนการกระทำที่น่าสงสัย และ จะบันทึกทุกการเคลื่อนไหว ส่งให้กับผู้สอนเมื่อเสร็จสิ้นการสอบ ซึ่งก็จะเป็นการช่วยยืนยันคุณภาพในการจัดสอบได้นั่นเอง

แต่ในกรณีที่สถาบัณไม่ได้วางแผนจะทำปริญญาออนไลน์ระยะยาว อาจนยังไม่คุ้มที่จะสมัครใช้บริการเหล่านี้ครับ อาจต้องลองหาวิธีคุมสอบเอาเองกันไปก่อน เลยเอากระบวนการมาแชร์กันให้ทราบ

เรียนออนไลน์ ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้างหรือไม่?

อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วผู้เรียนล่ะ ต้องเตรียมอะไรบ้างหรือไม่? ก็มีบ้างครับ ผู้เรียนออนไลน์จำเป็นต้องมี Computer สำหรับการเรียนออนไลน์ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถเรียนได้ บางแพลตฟอร์มสามารถเรียนผ่านมือถือได้ แต่อย่างไรก็ตามการมีคอมพิวเตอร์ที่มีความพร้อมยังเป็นสิ่งจำเป็น

นักเรียน ควรมีหูฟัง และ ไมโครโฟนไว้บ้าง แต่ไม่จำเป็นนัก สามารถใช้อะไรก็ได้ เช่นเดียวกัน นักเรียนควรมีกล้อง webcam ไม่ว่าจะเป็นแบบแยก หรือแบบที่มากับโน้ตบุคก็ใช้ได้ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องทำการสอบ

แต่ที่สำคัญกว่านั้น นักเรียนต้องบริหารจัดการเวลาครับ ต้องสื่อสารกับครอบครัวให้ดี เวลาเรียนคือเวลาเรียน เนื่องจากเมื่อเราเรียนจากบ้าน บางทีครอบครัวอาจไม่เข้าใจ เราควรพูดคุยเรื่องการแบ่งเวลา และ แปะตารางเรียนไว้ในบ้าน เพื่อให้คนในครอบครัวเคารพเวลาเรียนของเรา และ เราก็ต้องเคารพเวลาของคนอื่นด้วย เรียนจากบ้าน ไม่ใช่อยู่บ้านแล้วเรียนครับ

การเตรียมสถานที่สอนออนไลน์

สถานที่สำหรับการสอนก็สำคัญเช่นกัน มันคงไม่ดีนักถ้าขณะที่อาจารย์สอนอยู่ แล้วคนในครอบครัวอาจารย์เดินเข้ามาชวนทานข้าว เช่นเดียวกับนักเรียน การทำงานจากบ้านต้องมีการสื่อสารที่ดีกันในครอบครัวก่อน บ้านเคยเป็นสถานที่ของครอบครัว แต่เมื่อเราต้องทำงานจากบ้าน ก็ต้องมีขอบเขตระหว่างครอบครัวและงาน

ถ้าเป็นไปได้ ควรมีห้องแยกออกมาสำหรับการสอนครับ ไม่ต้องใหญ่โตอะไร ห้องเก็บของเล็กๆก็ใช้ได้ ขอเพียงมีความเป็นส่วนตัว

สำหรับผู้สอน คุณภาพของภาพและเสียงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเสียง ถ้าในห้องที่ทำการสอนมีเสียงก้อง เสียงสพท้อนเยอะ อาจทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้เลย ผู้สอนจึงควรพยายามทำให้ห้องมีเสียงสะท้อนน้อยที่สุด โดยอาจใช้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่สามารถดูดซับเสียงได้ มาวางไว้ในห้อง ปูพรม หรือหาแผ่น Acoustic board มาแปะตามจุดสะท้อนเสียงเสีย (ไว้พูดถึงเทคนิคกันทีหลัง) ถ้าห้องดี ใช้ไมค์อะไรก็เสียงชัดครับ

นอกจากนั้นคือ internet ผู้สอนจำเป็นต้องตรวจสอบว่า internet และ อุปกรณ์ network ในบ้านมีความพร้อมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาค Upload

internet package ตามบ้านส่วนใหญ่จะเน้นภาค download เป็นหลัก เราสามารถทดสอบความเร็วได้จากเว็บทดสอบความเร็วอย่างเช่น adslThailand, ookla, หรือ meteor เป็นต้น โดยความเร็วในการ upload ควรสูงประมาณ 10mb ขึ้นไปเพื่อภาพและเสียงที่ชัดเจน (5 พอถูไถ) ถ้าไม่ถึง อาจต้องติดต่อขอเปลี่ยน package ในช่วงเวลานี้ หรือตรวจสอบว่ามีคอขวดที่อุปกรณ์ภายในหรือไม่

แต่บางทีการปรับห้องอย่างเดียวก็ไม่พอ ถ้าเสียงและภาพยังไม่ชัด อาจต้องปรับปรุงอุปกรณ์กันต่อ

คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์เสริม

การเรียนการสอนออนไลน์นั้น สามารถทำบนอุปกรณ์ใดก็ได้ แต่สำหรับผู้สอน ถ้าต้องการให้การสอนลื่นไหล ไม่มีกระตุก นอกเหนือจากตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ก็ควรมีความแรงพอสมควร โดยเฉพาะปริมาณของ RAM เนื่องจากการส่งภาพหน้าจอพร้อมกับบกล้องนั้น กินทรัพยากรมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการปรับแต่งเสียงผ่าน software (การตัดเสียงรบกวน, ปรับโทนเสียงให้ฟังสบายขึ้น) หรือมีการปรับแต่งภาพผ่าน software โดยในกรณีดังกล่าว คอมพิวเตอร์จะทำงานหนักทั้งส่วนของ CPU, GPU และ RAM

อุปกรณ์เสริมที่สำคัญมาก และ แนะนำให้มีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งผู้สอนและผู้เรียน คือ จอ เนื่องจากเวลาเรียนออนไลน์ จอจอหนึ่งจะถูกยึดครองโดยหน้าจอของผู้สอนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ลำบากต่อการจด การหาข้อมูลประกอบ หรือการปฏิบัติตามในชั้นเรียนลักษณะ workshop และทางฝั่งผู้สอน ก็จะได้รับประโยชน์จากการมีจอเพิ่มอีกจอหนึ่งสำหรับการควบคุมการถ่ายทอดการสอน เปิด chat เพื่อคอยดูคำถามในชั้นเรียน และ เตรียมไฟล์หรือข้อมูลการเรียนการสอนเอาไว้ในอีกจอหนึ่งนั่นเอง (ในกรณีผู้เรียน อาจทำในลักษณะของ ipad + notebook ก็สามารถทำได้)

อุปกรณ์เสียง

เสียง คือครึ่งหนึ่งของวิดีโอ ไม่ว่าภาพจะดีเท่าไหร่ หากเสียงฟังยากแล้ว ก็ยากที่จะมีใครทนฟังได้นาน แต่เสียงกลับเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม อาจเพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น โดยสิ่งที่ทำให้เสียงในวิดีโอฟังยากนั้น มีเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่น

  • เสียงรบกวนภายนอก: ผู้สอนควรพยายามกันเสียงรบกวนออกให้มากที่สุด
  • เสียงสะท้อนภายในห้อง: เกิดจากการสะท้อนของเสียงไปมากับผนังห้องที่มีความเรียบ กลับมาที่ไมโครโฟน ทำให้ฟังยาก และยากต่อการตัดออกเป็นอย่างมากอีกด้วย ผู้สอนควรพยายามดูดซับ และ กระจายเสียงในห้องให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ furniture ต่างๆ หรือ ในกรณีที่อัดหน้าจอ แต่ไม่ได้เปิดกล้อง หนึ่งในเทคนิคที่นัก podcast นิยมใช้กันคือ อัดเสียงอยู่ใต้ผ้าห่ม เป็นต้น (บอกคนในบ้านก่อนนิดนึง เดี๋ยวจะตกใจกัน)
  • เสียงรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้า: มีลักษณะเป็นเสียง hum ต่ำ ถ้ามีเสียงรบกวนสูงอาจตรวจสอบว่า ไมโครโฟนวางอยู่ใกล้กับสายไฟหรือไม่ หรือ คอมพิวเตอร์มีสายดินหรือไม่ โดย ถ้าไม่มี อาจใช้สร้อย หรือ สายไฟ ต่อเพิ่มให้ หรือลองถอดปลั๊กแล้วใช้แบตเตอรีดูในกรณีที่เป็น notebook
  • นอกจากนี้ถ้ายังมีเสียงรบกวน หรือเสียงซ่าอยู่เป็นจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องเสียงแยกจากตัวคอมก็จะช่วยได้ (audio interface หรือที่หลายคนเรียกว่า sound card แยกเสียบไมค์)

ทั้งหมดขั้งต้นนั้น เป็นการพยายามปรับปรุงคุณภาพเสียงเบื้องต้นที่สามารถทำได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และ ถ้ายังมีสิ่งรบกวนในเสียงหลงเหลืออีกเพียงเล็กน้อย ก็อาจสามารถแก้ไขได้ด้วย OBS filters หรือใช้ virtual mixer อย่างเช่น Voicemeeter พร้อมกับ Virtual Cable (VB-Audio) ก็สามารถทำได้ ฟรี

อยากจะซื้อไมโครโฟนดีๆ ต้องดูที่อะไร?

เมื่อสอนไปสักพัก อาจารย์อาจอยากที่จะอัดคลิปการสอนให้มีคุณภาพเสียงที่ดีเพื่อเก็บไว้ใช้ต่อไปได้ในอนาคต เลยอาจต้องการเลือกซื้อไมโครโฟนดีๆสักตัว แต่มันกลับมีให้เลือกมากมายเหลือเกิน ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ประเด็นที่เราจะพิจารณานั่น มีหลักๆด้วยกันดังนี้

  • Condensor vs Dynamic
  • USB vs XLR (vs iRig)

Condensor vs Dynamic

ไมโครโฟนมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการรับเสียงที่แตกต่างกัน โดยรูปแบบของไมโครโฟนที่นิยมกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น Condensor กับ Dynamic นั่นเอง

Condensor microphones เป็นไมโครโฟนที่มีความยืดหยุ่นในการช้งานสูง มี pickup pattern หลายรูปแบบ (cardioid,omni,stereo,bi-directional) และมีจุดเด่นที่ความสามารถในการเก็บรายละเอียดในเนื้อเสียงได้ดี จึงเป็นไมโครโฟนที่เหมาะอย่างยิ่งกับการร้องเพลง หรือ เล่นดนตรี สำหรับการพูดคุยนั้น รายละเอียดของเนื้อเสียงที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้เสียงน่าฟังมากยิ่งขึ้น

แต่มันก็ไม่ได้มีแต่ข้อดี เนื่องจากความสามารถในการเก็บรายละเอียดของ condensor microphones นั้น ทำให้เสียงรบกวนต่างๆ โดยเฉพาะเสียงก้อง เสียงสะท้อนภายในห้อง ถูกอัดเข้าไปด้วย รวมไปถึงเสียง p เสียง s ของผู้พูดด้วย ดังนั้น ไมโครโฟนแบบ condensor จึงเหมาะกับห้องที่พร้อมสำหรับการอัดเสียง หรือ การอัดเสียงใต้ผ้าห่ม มากกว่านั่นเอง

ในทางกลับกัน Dynamic microphones ถูกออกแบบมาให้ตัดเสียงรบกวนโดยรอบ เช่นบนเวทีคอนเสิร์ต ที่เราจะเห็นศิลปินนักร้องถือ Dynamic microphones กัน เนื่องมาจากไมโครโฟนชนิดนี้ สามารถที่จะจับเสียงคนร้อง โดยตัดเสียงรอบข้าง เช่น เครื่องดนตรี หรือ คนดู ออกไปได้แทบทั้งหมด แลกกับรายละเอียดของเสียงที่หายไปพอสมควร

สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นอัดเสียง การเลือกใช้ไมโครโฟนแบบ dynamic อาจสะดวกกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องปรับแต่งพื้นที่อัดเสียงให้เหมาะสม แต่ใครที่อยากได้คุณภาพเสียงที่ใส และพร้อมจะแต่งห้องใหม่ให้เพื่อไมค์ตัวใหม่ condensor ก็มักจะให้ผลที่ดีกว่านั่นเอง (และ condensor ดีๆ มีราคาเริ่มต้นถูกกว่า dynamic ดีๆหลายตัว) (หรือ Ribbon microphone ก็ดีนะ ถ้าห้องพร้อม แต่มันจับได้แม้กระทั้งเสียงหายใจของคนอีกมุมหนึ่งของห้อง)

USB vs XLR (vs iRig)

การเลือกไมโครโฟนยังมีอีกประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือการเชื่อมต่อ ไมโครโฟนมีรูปแบบการเชื่อมต่อมากมาย และคำถามที่พบบ่อยที่สุดคือ ซื้อแบบ USB หรือ XLR (สายไมค์) ดี?

USB

ไมโครโฟน USB เป็นคำตอบที่ดีสำหรับผู้สอน เนื่องจากมีความสะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ USB ก็สามารถใช้งานได้ทันที และมักจะได้เสียงดีกว่าการเอาสายไมค์หูฟังเสียบเข้สช่อง 3.5มม หลายเท่าเลยทีเดียว แต่มันก็มีข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงอยู่ด้วยเช่นกัน

โดยหลักแล้ว USB microphone ประกอบไปด้วยสามส่วนประกอบสำคัญด้วยกัน คือ ตัวไมโครโฟน, Pre-amp, และ Audio Interface โดยทั้งสามส่วนนี้จะถูกยัดมารวมกันในไมโครโฟนตัวเดียว แปลว่าใน USB microphone ราคา 3,000 บาท อาจประกอบไปด้วย Mic มูลค่า 1,000 Pre-amp 1,000 และ Audio Interface อีก 1,000 บาท นั่นเอง

ข้อเสียหลักของ USB microphone คือความสามารถในการ upgrade เนื่องจากทั้งสามชิ้นส่วนนี้ รวมกันอยู่ในอุปกรณ์เดียว ถ้าเราต้องการ upgrade ส่วนใดส่วนหนึ่ง เราจะต้องโยนทิ้งทั้งหมด แล้วซื้อใหม่ทั้งยวงเพียงอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม USB microphone นั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าถึงได้ง่าย ราคาประหยัด สะดวกต่อการใช้งาน

นอกจากนี้ยังมี USB microphone บางตัว เช่น Samson G-Track Pro ที่สามารถเป็น Pre-amp และ Audio Interface ได้ด้วย หมายความว่า ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนไมโครโฟนให้ดีขึ้น ก็สามารถเอามาเสียบเข้าช่อง Input ของ G-Track Pro ได้นั่นเอง หรือ ไมโครโฟน USB บางตัว เป็นมากกว่า Interface แต่สามารถเป็น Mixer ได้เลย เช่น Zoom (H1n, H2n, H4, H5, H6) (Zoom H6 สามารถเสียบสาย XLR เพิ่มได้ถึง 6 สาย มี phantom power มี compressor / gate / hi pass filter / ฯลฯ)

การเลือกซื้อ USB ไมโครโฟนสำหรับเริ่มต้น แนะนำว่าให้พิจารณาราคาในช่วง 3000–5000 ไม่สูงไปกว่านี้ เพราะถ้าอยากได้อะไรที่ดีกว่านี้ ก็แนะนำให้ข้ามไปฝั่ง XLR เลยจะเหมาะสมกว่า

XLR

XLR คือชื่อเรียกขั้วต่อสามขั้ว ที่เห็นได้ทั่วไปตามก้นไมค์ สำหรับไมโครโฟนในกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการจริงจังมากขึ้น ต้องการความยืดหยุ่น และ ลูกเล่นมากขึ้นนั่นเอง โดยข้อดีแรกที่เราจะเห็นได้คือไมค์ XLR นั้น มีเพียงแค่ตัวไมโครโฟน แปลว่าถ้าเราซื้อ XLR mic มา 3,000 บาท เราได้ไมค์มูลค่า 3,000 เต็มๆ

ข้อดีข้อที่สองของ XLR mic คือความหลากหลายในตัวเลือก เนื่องจากเป็นข้อต่อที่มีมานาน และเป็นมาตรฐาน จึงทำให้มีตัวเลือกมากมาย หลายรูปแบบ หลายชนิด มีราคาตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักแสนหลักล้าน มีรูปแบบหลากหลาย มากมายเท่าที่สามารถจะคิดได้

แต่ข้อเสีย ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับเวลาที่เราซื้อไม้เทนนิส ไม้ที่คุณภาพดีหน่อย จะมีเพียงตัวไม้ เราต้องหาเอ็นมาขึ่งเพิ่มเอาเอง เพราะแต่ละคนก็จะใช้เอ็นแตกต่างกัน ฉันใดก็ฉันนั้น XLR mic นั้น มีเพียงตัวไมค์ ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นต้องจัดหา Mic pre-amplifier, และ Audio Interface แยกต่างหาก (ส่วนใหญ่มันจะมาด้วยกัน) จึงทำให้ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอาจสูงขึ้นไปหลายเท่า แต่ถ้าเราลงทุนกับ Audio Interface คุณภาพสูงไว้ก่อน ในอนาคตเราอาจเปลี่ยน Mic ก็สามารถทำได้ง่ายๆนั่นเอง

iRig

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มอุปกรณ์ iRig จริงๆแล้ว มันก็เหมือนกันกับ USB microphone นั่นเอง แต่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ iPhone หรือ iPad โดยเฉพาะ สำหรับผู้สอนที่ต้องการ upgrade mic เล็กน้อย เพื่อสอนบน iPad ง่ายๆ อาจพิจารณาใช้อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้ ข้อเสียคือความยืดหยุ่นที่หายไป เนื่องจากเราไม่สามารถนำอุปกรณ์ iRig ไปใช้ใน PC หรือใช้ใน chain ของอุปกรณ์อื่นๆ ได้เลย

สรุป

การเลือกไมโครโฟนเบื้องต้น อาจเลือกใช้แบบ USB เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยมีรุ่นที่แนะนำดังนี้

USB-Condenser

Blue Yeti (Yeti, Yeti Nano, Yeti X): ไมโครโฟนเริ่มต้นที่ได้รับความนิยมที่สุด Design สวยงาม เสียงดี ใช้ง่าย โดย Yeti nano นั้น มีคุณภาพเสียงที่เท่าเทียมกับ Yeti ตัวใหญ่ เพียงแต่ตัด feature บางอย่างออกไปเท่านั้น ส่วน Yeti X ที่เพิ่งออกมาใหม่ มาพร้อมกับ effect ปรับแต่งเสียงให้พร้อมต่อการถ่ายทอดสดโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมใดๆ

Blue Snowball: USB ไมโครโฟนราคาถูกจาก Blue มีเสียงใกล้เคียงกับ Yeti รูปร่างน่ารัก

Samson G-Track Pro: ไมโครโฟนที่ได้ชื่อว่า Yeti Killer ด้วยราคาที่ถูกกว่า เสียงที่ดีกว่า และความสามารถในการเป็น Audio Interface ในตัว มีข้อเสียที่ขนาดที่ใหญ่ และ design ที่ค่อนข้างเทอะทะ

Zoom H1n: เป็นเครื่องอัดเสียงพกพา ที่มี Condenser mic คุณภาพสูงสองตัวในรูปแบบ XR config สำหรับจับเสียง Stereo มีรู USB ที่สามารถทำให้แปลงร่างเป็น USB microphone ได้ มี line input อีก 1 input สำหรับเสียบไมโครโฟนเพิ่มเติม และยังสามารถอัดลง microsd ได้ในตัวอีกด้วย ด้วยราคาเพียงสามพันกว่าบาท เรียกว่าคุ้มสุดๆ ข้อเสียคือ gain noise ที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่สูงเท่ากับการเสียบไมค์ 3.5มม ดข้า PC โดยตรง (Zoom H2 ก็จะเหมือนกับ H1 แค่เปลี่ยนตัวไมค์ที่ติดมาเป็น Condenser ขนาดใหญ่แทน)

Hyper X Quadcast: น้องใหม่มาแรง ด้วยราคาที่เบาตัว และคุณภาพเสียงที่ตีกับพี่ Yeti ได้สูสี ข้อดีของ Quadcast คือ Design ที่โดดเด่น (ไม่ได้แปลว่าสวยงาม) มีไฟสีแดง กัยตัวไมค์สีแดงดำ ทำให้ Youtube / Twitch Streamer เลือกใช้เพราะมันทำให้ Video ของเขาดูดีมีสีสันมากขึ้นนั่นเอง (ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า YouTube Thumbnail ที่มีสีสันสดใส คนจะกดมากขึ้นกว่า 30%) Quadcast มาพร้อมกับ Shock mount แต่อาจต้องการขายืดไมค์ยึดโต๊ะเพิ่มเติม

Shure MV-5: น้องเล็กจาก Shure โดดเด่นด้วย Design แบบกึ่งย้อนยุค และ Signal-to-Noise ratio ที่ต่ำมาก เร่ง gain สูงๆ ก็แทบไม่มี Noise ข้อเสียคือขาตั้งที่เล็ก ทำให้ไมค์อยู่ไกล จนต้องหาขาจับไมค์มาใหม่ รุ่นพี่อย่าง Shure MV-51 ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน แต่ก็มีราคาต่างกันพอสมควร

USB-Dynamic

Rode Podcaster: ขึ้นชื่อว่า Rode ก็มักจะมาพร้อมกับคุณภาพคุ้มราคา (แต่ช่วงบนผมดันไม่ได้แนะนำ Rode NT-USB เพราะขาตั้งมันไม่มันคงสุดๆ) Rode Podcaster เป็น Dynamic Mic คุณภาพสูง ใช้งานง่าย หน้าตาดี เสียงดี ที่หลายคนใช้เป็น mic ตัวแรกเช่นเดียวกับ Blue Yeti ข้อเสียของ Rode Podcaster คือการที่มันไม่ได้มาพร้อมขาตั้ง ทำให้เราต้องหาขาตั้งไมค์แบบติดโต๊ะมาให้มันเพิ่มเติม (หรือจะถือเอา?)

Audio Technica 2100x: เป็น USB dynamic mic คุณภาพสูงจาก Audio Technica หาซื้อในไทยยาก แต่ราคาย่อมเยา แม้หน้าตาอาจไม่ sexy นัก แต่ก็มาพร้อมกับขาตั้งขนาดเล็ก และ จุดที่สำคัญที่สุดคือ สามารถเสียบได้ทั้ง USB-C เข้าคอม / XLR เข้า Audio Interface และ 3.5mm เข้าหูฟัง monitor และสามารถส่งสัญญาณทั้งสามนี้ได้พร้อมๆกัน ทำให้เหมาะมากกับการถือสอนในห้องเรียน และส่งสัญญาณเข้าคอมพิวเตอร์ไปพร้อมๆกัน

Samson Q2U: เช่นเดียวกันกับ AT2100x Samson Q2U เป็น USB dynamic microphone ที่สามารถเสียบ output ได้ทั้ง USB(micro USB) / XLR / monitor และส่งสัญญาณทั้งสามช่องทางได้พร้อมๆกัน ตัวนี้พอหาซื้อได้ในบ้านเรา เสียงดี ราคาถูก คุ้มค่าเช่นกัน

Samson Q9U: ณ วันที่เขียน ตัวนี้ยังไม่วางขาย แต่ด้วย Design ที่สวยงาม สามารถ output ผ่าน USB-C/XLR/3.5mm ได้ และมี built-in hi-pass/lo-pass filter ที่เปิดปิดได้บนตัวไมค์ อาจเป็น Category Killer ได้ในอนาคต ออกมาท้าชนกับ Rode Podcaster / Pod Mic / Procaster โดยตรง รอราคาเปิดตัวอีกซักนิด

XLR Condenser

*XLR condenser ส่วนใหญ่ จำเป็นต้องใช้ Phantom Power 48v ต้องเช็น Audio Interface / Mixer ด้วยว่ามี Phantom Power หรือไม่

Blue Ember: XLR condenser mic คุณภาพสูง ราคาถูก จาก Blue มี design ที่สะอาดตามสไตล์ Blue เป็น XLR เริ่มต้นที่ดี

SE-X1: เป็น Condenser ที่ใช้ง่ายอีกตัวใน range ราคาเริ่มต้น มาพร้อมกับ padding / hi-pass filter switch และ Cardioid pick up pattern ให้เสียงใส ชัดเจน หน้าตา professional มาพร้อมกับ Shock-mount และ pop filter คุณภาพดี (ขึ้นไปอีกนิดก็ X1s ส่วน X1r จะเป็น Ribbon)

Rode NTG-4: ตัวนี้จะมีราคาแพงสักหน่อย แต่สำหรับคนที่ต้องการให้ microphone อยู่นอกจอ ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ด้วย noise ที่ต่ำ และความสามารถในการตัดเสียงรบกวนที่สูง ทำให้สามารถเอาไมค์ห่างจากปากได้มากพอสมควร แต่จุดอ่อนคือเสียงสพท้อนภายในห้อง

Samson C01: XLR condenser พื้นฐาน เสียงดี ราคาถูก no-nonsense

Samson C02: XLR pencil condenser (คู่) จริงๆตัวนี้เป็น Mic สำหรับจับเสียงเครื่องดนตรี Acoustic แต่ก็สามารถจับเสียงพูดได้ดี โดยเฉพาะในห้องที่มีเสียงสะท้อน ด้วย Pick up patter แบบ Hyper-cardioid ทำให้สามารถตัดเสียงก้องในห้องได้มากกว่า Large-diaphragm condenser ทั่วไป

XLR Dynamic

Rode PodMic: น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม ด้วยราคาที่สบายกระเป๋า และหน้าตาที่โดดเด่น น่าใช้ เป็น Dynamic mic คุณภาพสูงจาก Rode

Rode Procaster: ถ้าต้องการคุณภาพเสียงที่เหนือกว่า Pod-Mic Rode ก็มี Procaster ให้เลือกใช้ โดย Procaster สามารถเก็บรายละเอียดเสียงได้ดีกว่า PodMic และให้เสียงที่นุ่มนวลกว่า PodMic (แต่เอา PodMic มา EQ ก็พอได้) มาพร้อมกับราคาสองเท่าของ Podmic

Shure SM7b: Dynamic Mic ยอดนิยมของเหล่า Podcaster ทั้งหลาย ด้วยเสียงที่นุ่มนวล ลุ่มลึก ละเอียด แต่มาพร้อมกับราคาที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ PodMic / Procaster ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Shure 58: ไมค์รุ่นยอดนิยม ถูก ทน ถึก และให้เสียงที่ไม่ผิดเพี้ยน พบได้ตามห้อง lecture ทั่วไป

AT2100x/Samson Q2U/ Q9U: อย่าลืมว่า USB dynamic เหล่านี้ สามารถ bypass pre-amp และ ส่งสัญญาณออกทาง XLR ได้เช่นกัน

Mixer / Audio Interface

เมื่อคุณตัดสินใจเดินสาย XLR แล้วสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการแปลงสัญญาณเหล่านั้นเข้าคอมพิวเตอร์ เราจึงตั้งมี mic pre-amp และ audio interface โดย Audio interface ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับ preamp ในตัวอยู่แล้ว

Samson G-Track Pro: อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น USB condenser mic ตัวนี้สามารถเป็น Audio Interface ได้ด้วย และมีคุณภาพที่ไม่เลวเลยทีเดียว แต่ต้องเตือนก่อนว่า Input สำหรับตัวนี้เป็น 1/4" jack ถ้าจะเสียบ XLR ต้องมีหัวแปลง และไม่สามารถส่ง Phantom Power ได้

Zoom H1n/H2n: สามารถทำหน้าที่เป็น Audio Interface ได้ แต่ input จะเป็น 3.5mm TRS jack และไม่สามารถส่ง Phantom Power ได้เช่นกัน

focusrite scarlett 2i2 gen 3: Audio Interface ราคาเริ่มต้นยอดนิยมจาก Focusrite ให้สัญญาณที่ใส ชัด และมี ‘Air’ (เป็นการเลียนแบบเสียงจากอุปกรณ์ระดับมืออาชีพของ focusrite) ทำให้เสียงน่าฟังยิ่งขึ้น สามารถรับได้ 2 input 2 output 1 headphone monitor คุมเสียงแยกได้หมด และมี Phantom Power +48v

Tascam US 2x2: คล้ายกันกับ Focusrite แต่ส่วนตัวผมชอบสัญญานเสียงจากตัวนี้มากกว่า เนื่องจากความสะอาดของสัญญาณที่เหนือกว่า ทำให้สามารถแต่งเสียงภายหลังได้ง่ายขึ้น 2input, 2output, 1headphone, +48v phantom, สามารถ mix เสียงคอม / mic ได้ software จะงงๆเล็กน้อย

Behringer U-PHORIA UMC202HD: Audio Interface สุดคุ้ม ด้วยราคาที่ต่ำ และคุณภาพที่ไม่ได้ต่างจากคู่แข่ง (บางคนบอกว่าดีกว่า US2x2ด้วยซ้ำ) ทำให้เป็นอีกตัวเลือกเริ่มต้นที่ดี 2input, 2output, 1headphone, +48v phantom

Zoom H6: สำหรับใครที่ต้องการฟังก์ชั่นที่เหนือกว่า Audio Interface ทั่วๆไป Zoom H6 สามารถทำหน้าที่เป็น recorder, mixer, audio interface ได้ในตัวเดียว สามารถรับได้สูงสุด 6 input, 2 output (USB, Line level), และ 1 monitor output ข้อเสียหลักๆคือ Noise ที่สูงกว่า Audio Interface เฉพาะทาง และ ราคาที่ค่อนข้างสูง

Rode Caster Pro: เหนือไปกว่า H6 สำหรับผู้ที่ต้องการเอาจริงเอาจัง จัดรายการ Live / podcast ของตัวเอง Rode Caster Pro เป็น Mixer จาก Rode ที่มาพร้อมกับ Voice effects (Low pass filter, De-esser, Noise Gate, Compressor, Limiter (Compressor คุมทุก Channel อีกชั้นหนึ่ง), Aural Exciter, Big Bottom และยังมีอัพเดตมาเรื่อยๆผ่าน Firmware Update (ล่าสุดสามารถให้ user ปรับแต่งรายละเอียด effects ต่างๆได้ทั้งหมด) รับได้ 4x XLR input, 1x 3.5mm TRRS, 1x USB-C, 1x Bluetooth มี sound effects panel พร้อม Slider ของตัวเอง จอ Touchscreen ขนาดใหญ่ ง่านต่อการควบคุมเมื่อเทียบกับ Zoom L8 สัญญาณสะอาดไม่แพ้ Audio Interface เฉพาะทาง Output ได้ทั้ง USB-C, Monitor (balanced), 4x Headphone ที่มี Headphone amp แยกกัน, 1x 3.5mm monitor output และยังสามารถอัดลง microSD ได้อีกด้วย แต่ถ้าไม่ได้จะจริงจังก็ไม่จำเป็นครับ ด้วยราคาที่สูงกว่าตัวเลือกอื่นๆ นั่นเอง

TC Helicon GoXLR: อีกหนึ่ง Mixer / Interface ขั้นเทพ ออกแบบสำหรับ Streamer / Podcaster โดยเฉพาะ แม้จะมี XLR input เพียงช่องเดียว แต่สามารถรับ input อื่นๆได้อีกสามช่อง (USB, Bluetooth, 3.5mm) สามารถ map / rout การเชื่อมต่อระหว่าง Channel ได้เองทั้งหมดผ่าน software, มี effects มากมาย (Low pass, High Pass, Limiter, Compressor, Expander, De-Esser, Noise Gate ฯลฯ) ที่สามารถปรับแต่งได้ทั้งหมด พร้อม Graphics EQ ที่ปรับได้จาก software และยังสามารถจำ profile ต่างๆได้อีกมากมาย ตัวนี้หาซื้อยากหน่อยครับ แต่คุ้มค่าพอสมควร

อุปกรณ์ภาพ

เสียงคือครึ่งหนี่งของวิดีโอ แต่อีกครึ่งหนึ่งก็คือภาพครับ สำหรับวิดีโอการสอนนั้น ภาพ อาจไม่สำคัญนัก เนื่องจากเนื้อหาหลักๆอยู่ที่หน้าจอของผู้สอน แต่ในกรณีที่ผู้สอนต้องการเขียนกระดาน หรือ สาธิตอะไรที่ต้องใช้ภาพวิดีโอ การมีกล้องดีๆก็ช่วยได้พอสมควรครับ อีกอย่าง ถ้าภาพออกมาดี ผู้สอนก็มีความมั่นใจ

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีความจำเป็นอาจพิจารณาข้ามส่วนนี้ไปเลยก็ได้ครับ แต่ถ้าต้องการอัพเกรดคุณภาพภาพในการสอน เราก็จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

การจัดไฟ และ การเลือกมุมกล้อง

เคล็ดลับของการได้ภาพวิดีโอที่ดี อยู่ที่การจัดไปครับ ภาพถ่าย ก็คืองานศิลปะที่ถูกวาดด้วยแสงและเงา ถึงกล้องจะดขนาดไหน ถ้าจัดไฟไม่เป็นภาพก็ไม่มีวันดีครับ แต่ถ้าจัดไฟดี กล้องเว็บแคมหน้าคอมก็ถ่ายภาพสวยๆได้

สำหรับการจัดไฟใน settings ในบ้านนั้น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับฉากหลัง ทั้งหมดนี้เป็นความชอบส่วนบุคคล แต่ละคนจะมีความคิดและสไตล์แตกต่างกัน แต่ผผมจะแชร์แนวทางทั่วไปของผมไว้ในนี้

  1. มองหามุม / ฉากหลังที่เหมาะสม ข้างหลัง รกไปหรือไม่ ย้อนแสงเกินไปหรือเปล่า (นอกจากต้องการให้ย้อนแสง เดี๋ยวจัดไฟช่วยได้) ใช้เส้นนำสายตาที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ พยายามให้เส้นชี้นำสายตามาที่ subject (ผู้สอน) หยิบกล้องขึ้นมาแล้วเดินหามุมก่อนเลยครับ
  2. ปิดไฟให้หมด ถูกต้องครับ หลายคนจะเริ่มต้นด้วยการเปิดไฟให้สว่างที่สุด และ นั่นคือสิ่งที่ผมเองก็พลาดมาหลายปี ปิดไฟให้หมดก่อนครับ เราอยากจะรู้ว่า ฉากที่เราเลือก มีอะไรให้เราเล่นได้บ้าง พู่กันของเราคือแสงไฟ เส้นสายคือเงา และผืนผ้าคือพื้นที่และตัวเรา
  3. จากนั้น ค่อยๆเพิ่มไฟเข้าไปครับ อาจเริ่มจากไฟง่ายๆ เป็น Key light 1 แนะนำให้ใช้ Softbox สามารถใช้แบบไหนก็ได้ แต่ขอฝห้ควบคุมทิศทางได้ อาจเอาผ้าหรือกระดาษ มาปิดโคมไฟให้แสงนวลขึ้น หรือซื้อ softbox สำหรับ key light มาใช้ โดยจัดให้แสง Keylight 1 ส่องที่ตัวผู้พูด ทำมุมประมาณ 45 องศาจากกล้อง แต่ระวังอย่าให้แสง เลอะไปถึง Background เราต้องการดึงตัวผู้พูดออกมาจากพื้นหลัง แสงควรส่องจากบนลงล่าง ทำให้เกิดเงาบริเวณใต้คาง เป็นการตัดเส้นใบหน้า และสร้างเงาที่ทำให้หน้าดูเรียวขึ้น
  4. เพิ่มไฟ Hairlight เพื่อขับให้ผู้พูดลอยออกมาจากพื้นหลังอีกชั้น สำหรับไฟนี้ ผมชอบใช้ led light ที่มีความคมพอสมควร ไม่ต้องผ่าน softbox แล้วจัดให้สองมายังบริเวณหลังศรีษะ และบ่า ของผู้พูด ฝั่งตรงกันข้ามกับ Key light 1 เพื่อไฮไลต์ผม และบ่า เป็นการวาดเส้นตัดขอบจัดกับ Background ที่มืดกว่า อาจใช้ไปคนละโทน กับ keylight ก็จะทำให้ภาพน่าสนใจขึ้น
  5. เพิ่ม Ambiance ตอนนี้พื้นหลังมืดไปหรือเปล่า ถ้ามืดไป อาจเพิ่มปริมาณแสงในห้องเล็กน้อย ลองเปิดไฟซักดวงแล้วเช็คว่ามันทำให้ set up เรารวนหรือไม่ ระวังไฟเปื้อนมาที่ subject
  6. เพิ่ม Accent / Mood Light ใน Background เราอาจเพิ่มสีสันด้วย RGB LED ให้ complement กับโทนสี เครื่องแต่งกาย และ concept ของวิดีโอได้ โดยใช้ไฟเปลี่ยนสีได้ ระบายไปยังฉสกหลังตามต้องการ ระวังอย่าให้สว่างเกินไป
  7. ตรวจสอบ Subject ถ้าเงาใต้คางแรงเกินไป อาจใช้แผ่นสะท้อนแสง สะท้อน Keylight 1 มาบางๆ เพื่อเกลี่ยเงาลง
  8. ถ้าชอบ ก็อาจเติม Ring light ให้มีประกายเป็นวงกลมในตา (คนใส่แว่นหมดสิทธิ์นะครับ อย่าได้พยายาม สะท้อนบนแว่นมันน่ารำคาญมาก) เปิด led ring light ตรงหน้า subject (วางไว้รอบ lems กล้อง) โดยเปิดความสว่างต่ำที่สุด เพราะเราไม่ต้องการความสว่างแล้ว เราต้องการเพียง hi-light เงาสะท้อนในดวงตา ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

หลังจากลองจัดแสง หามุมที่พอใจได้แล้ว จึงอาจค่อยๆเลือกที่จะอัพเกรดกล้องได้ตามต้องการ โดยมีกล้องที่แนะนำดังนี้ครับ

Logitech c920 / 922 / 930e: กล้อง Webcam ยอดนิยมจาก Logitech ให้ภาพที่มีคุณภาพพอใช้ได้ รับแสงได้ดีกว่ากล้องหน้าจอคอม ทำให้ถ่ายในที่มืด หรือไฟน้อยได้ดีขึ้น แนะนำ C920 ถ้าสามารถหาราคาถูกๆได้ครับ เนื่องจาก C922 ก็คือ C920 ที่เติมfeature ที่ไม่มีใครต้องการ แล้วเก็บแพงขึ้นนั่นเอง (หรืออาจลอง C930E ก็ได้ครับ มุมกล้องจะกว้างกว่า)

Logitech Brio 4k: ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น ด้วยภาพที่คมชัดขึ้น ความสามารถในการถ่ายในที่มืดที่สูงขึ้น แต่ผู้ใช้งานต้องมีความเข้าใจมากขึ้นระดับหนึ่งครับ เนื่องจาก Brio นั้นวัดแสงได้แย่มาก จึงต้องควบคุมการวัดแสงด้วยตัวเองจะดีกว่า เพื่อไม่ให้ภาพสว่างจนเกินไป

หรือจะใช้กล้องดีๆ?

แทนที่จะใช้เว็บแคม หลายคนอาจมีกล้องดีๆวางแยู่แล้ว ก็สามารถลองหยิบมาใช้ดูได้ครับ โดยวิธีง่ายๆที่เราจะสามารถเอาภาพ Video จากกล้อง ไม่ว่าจะเป็นกล้อง compact / dslr หรือ mrl มาใช้เป็น web cam นั้นก็ทำได้ง่ายๆ ผ่านอุปกรณ์ Video Capture นั่นเอง โดยก่อนอื่นต้องสืบหาก่อนว่า กล้องที่เรามีนั้น รองรับการ Output เป็น Clean HDMI feed หรือไม่? (ถ้ามี HDMI out แต่ไม่ Clean มันจะติดข้อมูลต่างๆบนหน้าจอมาด้วยซึ่งก็พอจะ crop ออกไปด้วย)

*กล้องส่วนใหญ่จะมีช่อง mini หรือ micro HDMI out ซึ่งมักจะแถม adaptor มาด้วยตอนซื้อ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถหาซื้อสาย mini-hdmi to hdmi หรือ micro-hdmi to hdmi ได้ไม่ยาก

ถ้ามี Clean HDMI feed แล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือหาอุปกรณ์รับภาพจาก hdmi แล้วแปลงเข้าคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยมีตัวเลือกหลากหลาย เช่น

Elgato Camlink 4k: อุปกรณ์เล็กๆ ที่เราสามารถเสียบสาย HDMI จากกล้อง เข้าอุปกรณ์ตัวนี้แล้วเข้าคอมได้เลย ใช้ง่ายมากๆครับ ไม่มี delay ในคอมจะเห็นเป็น webcam ตัวหนึ่งที่สามารถใช้กับ OBS, Zoom, Teams, ฯลฯ ได้เหมือน Webcam ทั่วไป

Elgato HD60s: เช่นเดียวกันกับ Camlink แต่ HD60s สามารถทำ HDMI pass trough สำหรับส่งต่อสัญญาณภาพไปยัง recorder / switcher ได้อีกด้วย เหมาะสำหรับ setup ที่มีความซับซ้อนสูงขึ้น

Avermedia Live Gamer Portable 2: Avermedia ก็มี capture device ให้เลือกมากมายครับ ข้อดีของ LGP2 คือการอัด file video ลงตัวเครื่องได้เลย และมี hdmi / audio pass through แต่สำหรับการเชื่อมต่อกับกล้อง อาจไม่มีประโยชน์เท่าไหร่นัก

ยกตัวอย่าง กล้องที่นิยมใช้กัน (และที่ผมใช้เอง)

Sony RX100: เริ่มขยับมาที่กล้อง compact ขนาดเล็ก Sony RX100 (ตอนนี้ mk อะไรแล้วนะ?) เป็นกล้องตัวจิ๋วจาก Sony ที่มี sensor ค่อนข้างใหญ่ และมีระยะเลนส์ที่เหมาะกับการถ่าย Vlog เป็นอย่างมาก ใช้งานได้ง่ายและสามารถพับจอขึ้น 180 องศาเพื่อตรวจสอบมุมกล้องได้ตลอดเวลา

Sony a6400: หรือ a6000,6100,6200,6300,5100,5200 ฯลฯ (ได้หมดครับ เพียงแค่ใหม่กว่า a5100 ก็มี clean hdmi feed แล้ว) เป็นกล้อง mirroless ตัวเล็กของ Sony ที่มี sensor ขนาด APS-C และ สามารถใช้ lens E-mount (ที่มี adaptor มากมาย) เป็นทางเลือกที่สะดวกมากๆ สำหรับการถ่ายวิดีโอ โดยเฉพาะถ้าใช้ hdmi out จะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงการ overheat ลงได้อย่างมาก

Sony a7 (i,ii,iii): กล้อง full frame mirrorless สำหรับภาพที่เหนือกว่า APS-C ขึ้นมาอีกขั้น ไม่ใช่ตัวเลือกที่ผมแนะนำครับ เนื่องจาก Lens มีราคาแพงกว่า APS-C มาก แต่ถ้ามีอยู่ก็สามารถใช้ได้ครับ

ทำไมมีแต่ Sony? จริงๆ ยี่ห้ออะไรก็ได้ครับ นอกเหนือจาก Sony แล้ว คนยังนิยมใช้ Panasonic / Olympus เนื่องจากขนาดที่เล็กกระทัดรัด, lens เบาและถูก, และภาพวิดีโอที่สะอาดของมัน รวมไปถึง Canon, Nikon ก็สามารถใช้ได้ครับ

อุปกรณ์เสริมที่ควรจัดหาสำหรับการใช้กล้องเหล่านี้เป็นกล้องถ่ายทอดสด คือตัวแปลง Battery ครับ ซึ่งเราสามารถหาซื้อได้ทั่วไป โดยลองใส่ชื่อรุ่น Battery ของเราลงไป ตามด้วย DC adaptor / dummy ดู จะมี Battery แบบที่เป็น Batt ปลอม แต่มีสายไฟออกมา ให้เราเสียบปลั๊กได้แทน ถ่ายนานเท่าไหร่ก็ไม่ต้องกังวลครับ (ฝาแยตกล้อง Sony ใหม่ๆ จะมีประตูเล็กๆให้ร้อยสายไฟออกมาได้มาให้เลยด้วย อันนี้ไม่แน่ใจ brand อื่นมีหรือไม่ ก็น่ารักดีครับ)

ก็เป็นอันจบ สำหรับคำแนะนำ การเรียนการสอนออนไลน์ จากประสบการณ์ส่วนตัวครับ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย อย่างไรผมอาจทยอยอัพเดตบทความนี้เรื่อยๆ ถ้าสถานการณ์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ เอ้า ตบมือ!

--

--